วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

สอบปลายภาค

ข้อสอบปลายภาค
คำสั่ง ข้อสอบมีทั้งหมด 7  ข้อ ให้นักศึกษาทำทุกข้อ ห้ามลอกกันเขียนคำตอบโดยใช้สำนวนเหมือนกันถือว่ามิใชความคิดของนักศึกษาเอง ปรับให้ตกทั้งคู่ ข้อละ 10 คะแนน
1.         กฎหมายทั่วไปกับกฎหมายการศึกษา มีที่มาความเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร อธิบายพร้อมทั้ง ยกตัวอย่างประกอบอย่างย่อ ๆ ให้ได้ใจความพอเข้าใจ
ตอบ  เหมือนกัน  เพราะกฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ที่เป็นแบบแผนความประพฤติของมนุษย์ในสังคมซึ่งมีกระบวนการบังคับที่เป็นกิจจะลักษณะจะเห็นได้ว่า กฎหมายนั้นมีความหมายในหลายแง่มุม ซึ่งการนิยามความหมายจะแปรเปลี่ยนไปตามแนวความคิดและความเชื่อที่แตกต่างกันตามลักษณะของสังคมและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งความต้องการของประชาชนในสังคมนั้น ๆ ซึ่งทั้งกฎหมายโดยทั่วไปและกฎหมายการศึกษากฎหมาย ก็เกิดจากความขัดแย้งต่างๆ ที่คนเราเคยมี จึงแก้ปัญหาโดยให้มีกฎกติกาเพื่อทำให้ทุกคนยึดถือ กติกาเดียวกันสามารถดำเนินชีวิตโดยปกติ และมีความสุข เช่น การค้ายาเสพย์ติด การฆ่าขมขืน หรือการทุจริตในการสอบข้าราชการ ทั้งหมดนี้ล้วนแต่มีกฎหมาย หรือมีการนำกฎเกณฑ์มาบังคับใช้เพื่อไม่ให้เกิดขึ้นอีก และมีบทลงโทษต่างๆแก่ผู้ที่กระทำความผิด  
 2. รัฐธรรมนูญที่ว่าด้วยการศึกษา มีสาระหลักที่สำคัญอย่างไร ในประเด็นอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ยกตัวอย่างประกอบ พอเข้าใจ (รัฐธรรมนูญตั้งแต่แต่ฉบับแรกถึงปัจจุบัน (พ.ศ.2550)
ตอบ รัฐธรรมนูญพ.ศ.2540 ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา มีมาตราที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาโดยตรง 2 มาตรา คือ 
         มาตรา 43    บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย การจัดการศึกษาอบรมของรัฐต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นและเอกชน ทั้งนี้ ตามที่ กฎหมายบัญญัติ การจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพและเอกชนภายใต้การกำกับดูแลของรัฐ ย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ 
        มาตรา 81    รัฐต้องจัดการศึกษาอบรมและสนับสนุน ให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรม จัดให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ  ปรับปรุงการศึกษาให้สอดคล้อง กับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม สร้างเสริมความรู้ และปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สนับสนุนการค้นคว้าวิจัยในศิลปะวิทยาการต่าง ๆ เร่งรัดพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาประเทศ
       จะเห็นได้ว่า มีรัฐธรรมนูญฉบับนี้ฉบับเดียวที่ระบุให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ(มาตรา 81) ซึ่งมีผลทำให้เกิด พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และกฎหมายการศึกษาอื่นอีกหลายฉบับ ซึ่งถือเป็นประวัติศาสตร์ของการปฏิรูปการศึกษาครั้งสำคัญของเมืองไทยยุคหนึ่ง
       รัฐธรรมนูญพ.ศ.2550  ก็มีสาระที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ระบุเอาไว้ส่วนที่ 8 สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา มี 2 มาตรา คือ
       มาตรา 49 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ต้องได้รับการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น การจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน การศึกษาทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ย่อมได้รับการคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ
      มาตรา50 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการย่อมได้รับการคุ้มครอง ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน 


3. พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ มีกี่มาตรา และมีความสำคัญอย่างไร และประเด็นหรือมาตราใดที่ผู้ปกครองต้องปฏิบัติและต้องยึดถือปฏิบัติ    

ตอบ       มีทั้งหมด 20 มาตรา ผู้ปกครองควรรับทราบ ต้องปฏิบัติและยึดถือปฏิบัติทุกมาตรา
                มาตรา  1  พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า  พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ  พ..2545”
                มาตรา  2  ระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
                มาตรา  3  ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติประถมศึกษา  พ..2523
                มาตรา  4  ในพระราชบัญญัตินี้
                “การศึกษาภาคบังคับ”  หมายความว่า  การศึกษาชั้นปีที่หนึ่งถึงชั้นปีที่เก้าของการศึกษา
ขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
                “สถานศึกษา”  หมายความว่า  สถานศึกษาที่จัดการศึกษาภาคบังคับ
                “ผู้ปกครอง”  หมายความว่า  บิดามารดา  หรือบิดา  หรือมารดา  ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  และหมายความรวมถึงบุคคลที่เด็กอยู่ด้วยเป็นประจำหรือที่เด็กอยู่รับใช้การงาน
                “เด็ก”  หมายความว่า  เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดจนถึงอายุย่างเข้าปีที่สิบหก  เว้นแต่เด็กที่สอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับแล้ว
                “คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน”  หมายความว่า  คณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
                “คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา”  หมายความว่า  คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
                “องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น”  หมายความว่า  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีสถานศึกษาอยู่ในสังกัด
                “พนักงานเจ้าหน้าที่”  หมายความว่า  ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฎิบัติการตาม
พระราชบัญญัตินี้
                “รัฐมนตรี”  หมายความว่า  รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
                มาตรา  5  ให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา  หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  แล้วแต่กรณี  ประกาศรายละเอียดเกี่ยวกับการส่งเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษา  และการจัดสรรโอกาสเข้าศึกษาต่อระหว่างสถานศึกษาที่อยู่ในเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับโดยให้ปิดประกาศไว้  ณ  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา  สำนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  และสถานศึกษา  รวมทั้งต้องแจ้งเป็นหนังสือให้
ผู้ปกครองของเด็กทราบก่อนเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
                มาตรา  6  ให้ผู้ปกครองส่งเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษา
                เมื่อผู้ปกครองร้องขอ  ให้สถานศึกษามีอำนาจผ่อนผันให้เด็กเข้าเรียนก่อนหรือหลังอายุตามเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับได้  ทั้งนี้  ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด
                มาตรา  7  ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปในสถานที่ใด ๆ  ในเวลาระหว่าง
พระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตกหรือในเวลาทำการของสถานที่นั้น  เพื่อตรวจสอบการเข้าเรียนของ
เด็ก  หากพบว่ามีเด็กไม่ได้เข้าเรียนในสถานศึกษาตามมาตรา  5  ให้ดำเนินการให้เด็กนั้น  ได้เข้าเรียนในสถานศึกษานั้น  แล้วรายงานให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา  หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 
แล้วแต่กรณีทราบ
                ในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการให้เด็กได้เข้าเรียนตามวรรคหนึ่งได้  ให้พนักงาน
เจ้าหน้าที่รายงานให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นท้องที่ที่พบเด็ก  แล้วแต่กรณี  เพื่อดำเนินการให้เด็กได้เข้าเรียนในสถานศึกษา
                มาตรา  8  ในการปฏิบัติหน้าที่  พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวแก่บุคคลซึ่ง
เกี่ยวข้องบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
                มาตรา  9  ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่  ให้ผู้ซึ่งเกี่ยวข้องอำนวย
ความสะดวกตามสมควร
                มาตรา  10  ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้  ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็น
เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา   
                มาตรา  11  ผู้ใดซึ่งมิใช่ผู้ปกครอง  มีเด็กซึ่งไม่ได้เข้าเรียนในสถานศึกษาอาศัยอยู่ด้วย  ต้องแจ้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา  หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  แล้วแต่กรณี  ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่เด็กมาอาศัยอยู่  เว้นแต่ผู้ปกครองได้อาศัยอยู่ด้วยกับผู้นั้น
                การแจ้งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
                มาตรา  12  ให้กระทรวงศึกษาธิการ  คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  และสถานศึกษา  จัดการศึกษาเป็นพิเศษสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย  จิตใจ 
สติปัญญา  อารมณ์  สังคม  การสื่อสารและการเรียนรู้  หรือมีร่างกายพิการ  หรือทุพพลภาพ  หรือเด็กซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้  หรือไม่มีผู้ดูแล  หรือด้อยโอกาส  หรือเด็กที่มีความสามารถพิเศษให้ได้รับการศึกษาภาคบังคับด้วยรูปแบบและวิธีการที่เหมาะสม  รวมทั้งการได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก  สื่อ  บริการ  และความช่วยเหลืออื่นใดตามความจำเป็น  เพื่อประกันโอกาสและความเสมอภาคในการได้รับการศึกษาภาคบังคับ
                มาตรา  13  ผู้ปกครองที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรา  6  ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
                มาตรา  14  ผู้ใดไม่อำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา  9  ต้อง
ระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
                มาตรา  15  ผู้ใดโดยปราศจากเหตุอันสมควร  กระทำด้วยประการใด ๆ  อันเป็นเหตุให้เด็กมิได้เรียนในสถานศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้  ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
                มาตรา  16  ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา  11  หรือแจ้งข้อมูลอันเป็นเท็จ  ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
                มาตรา  17  ในระหว่างที่ยังไม่มีคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ให้คณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ  ทำหน้าที่แทนคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
                มาตราที่  18  ในระหว่างที่ยังไม่มีคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา  ให้คณะกรรมการการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร  คณะกรรมการการประถมศึกษาอำเภอ  หรือคณะกรรมการการประถมศึกษากิ่งอำเภอ  แล้วแต่กรณี  ทำหน้าที่แทนคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา  และให้สำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร   สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอ  หรือสำนักงานการประถมศึกษากิ่งอำเภอแล้วแต่กรณี  ทำหน้าที่แทนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
                มาตรา  19  ให้บรรดากฎกระทรวง  ประกาศ  ระเบียบ  ข้อบังคับ  และคำสั่งที่ออก
ตามพระราชบัญญัติประถมศึกษา  พ..2523  ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศใน
ราชกิจจานุเบกษายังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดแย้งกับบทบัญญัติในพระราชบัญญัตินี้
                มาตรา  20  ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้  และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่  กับมีอำนาจออกประกาศเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
                ประกาศนั้น  เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว  ให้ใช้บังคับได้

 4. ท่านเข้าใจว่า หากมีใครเข้ามาปฏิบัติการสอนในโรงเรียนที่เปิดการสอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรณีสอนทั้งปีที่ไม่มีใบประกอบวิชาชีพครูนั้น สามารถมาปฏิบัติการสอนได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้มีความผิดหรือบทกำหนดโทษอย่างไร  ถ้าได้จะต้องกระทำอย่างไรมิให้ผิด ตามพระราชบัญญัตินี้
ตอบ สามารถปฏิบัติการสอนได้ เช่นถ้ามีนักศึกษาออกไปฝึกประสบการณ์ ก็ไม่ผิดกฎ เพราะเป็นการเรียนตามหลักสูตรที่ทางมหาวิทยาลัยได้กำหนดไว้ หรือบางโรงเรียนที่มีครูที่ไม่มีใบประกอบวิชาชีพ สอนในโรงเรียนนั้นอาจเป็นเพราะทางโรงเรียนขาดครูที่จบทางด้านหลักสูตรนั้นมาโดยตรง จึงต้องมีการจัดการให้มีความเหมาะสมกับเด็ก เช่น บุคคลที่จบคณะวิทยาศาสตร์ หลักสูตรคณิตศาสตร์ ก็สามารถไปสอนในรายวิชาคณิตศาสตร์ได้ เช่นกัน

5. สมบัติ เป็นครูโรงเรียนแห่งหนึ่ง ได้ประพฤติผิดกระทำทารุณกรรมต่อเด็กหรือเยาวชน หากเราพิจารณาตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546  จะต้องทำอย่างไร และมีบทลงโทษอย่างไร
ตอบ       ควรตั้งข้อหาให้เหมาะสมกับบาดแผลที่เด็กได้รับ หรือหากจะให้ตรงเป้าตรงจุด ตรงกฎหมายเฉพาะก็ปรับใช้พระราชบัญญัติ คุ้มครองเด็ก พ.ศ.๒๕๔๖ มาตรา ๒๕ หรือ มาตรา 26 
       และ ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่น ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการ ดังต่อไปนี้  กระทำหรือละเว้นการกระทำอันเป็นการทารุณกรรมต่อร่างกายหรือจิตใจของเด็ก
       ซึ่งกรณีนี้มีโทษถึง จำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งก็ดูจะเหมาะสมมากกว่า


 6. ช่วงที่นักศึกษาไปทดลองสอนที่โรงเรียนเทอม 2  และในเทอมต่อไป นักศึกษาเข้าไปทดลองสอนจริง นักศึกษาคิดว่าจะนำกฎหมายการศึกษาไปใช้โดยกำหนดคนละ 2 ประเด็นที่คิดว่าจะนำกฎหมาย   ไปใช้ได้ พร้อมยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ  1.การแก้เกรด การแก้ผลการเรียน จากสอบตกเป็นสอบได้  หรือจากเกรดน้อยเป็นเกรดมาก เพื่อให้ถึงเกณฑ์ในการสมัครสอบ เช่น แก้เกรดคณะวิศวกรรมศาสตร์ จาก 2.7 เป็น 3.5 เพื่อให้สามารถสมัครเข้าสอบในมหาวิทยาลัยต่างๆได้ ต่อมาทางมหาวิทยาลัยตรวจสอบภายหลังจึงทราบว่ามีการแก้ไขเกรด ถือว่านักศึกษาปกปิดประวัติและขาดคุณสมบัติจึงไม่สามารถให้เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยนั้นได้
          2.การลอกบทความของบุคคลอื่น การลอกบทความของบุคคลอื่นมาเป็นของตนเอง หรือนำไปเขียนหนังสือขาย  อันเป็นการขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติ  ของเจ้าของลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 โดยไม่ได้รับอนุญาต ตามมาตรา 27 มีอยู่มาก เช่น ครูสั่งให้ทำรายงาน แต่นักเรียนไปก๊อปปี้มาจากเว็ปไซต์มา โดยไม่อ้างอิงถึงท่าของการทำรายงาน ถือว่าผิดกฎหมาย

7. ให้นักศึกษาสะท้อนความคิดการใช้ เว็บล็อก (weblog) ในการนำมาใช้จัดการเรียนการสอนวิชานี้   พอสังเขป

ตอบ ในการใช้ เว็บบล็อก (weblog) ในจัดการเรียนการสอน ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะเด็กสมัยนี้จะชอบเรียนโดยการใช้เทคโนโลยี มากกว่าการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนแบบปกติ และการใช้  เว็บบล็อก (weblog) เป็นการทำให้นักศึกษาได้เกิดการเรียนรู้ได้ตลอกเวลา ไม่ว่าจะอยู่ที่ได สามารถเปิดเข้าไปอ่านดูได้ และส่งการบ้านให้อาจารย์ผ่านทาง เว็บบล็อก (weblog) ทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น