วันจันทร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2558

อนุทิน 4

แบบฝึกหัดบทที่ 2

1. ใครเป็นผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก และมีเหตุผลอย่างไร และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เป็นอย่างไร อธิบาย
ตอบ ผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรกคือสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7  เหตุผลผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามถือเป็นฉบับแรกคณะราษฎร์เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยได้กล่าวไว้ว่า “บัดนี้การศึกษาสูงขึ้นแล้ว มีข้าราชการประกอบด้วยวุฒิปรีชาในรัฐาภิปาลนโยบายสามารถนาประเทศของตน ในอันที่จะก้าวหน้าไปสู่สากลอารยธรรมแห่งโลกโดยสวัสดี สมควรแล้วที่จะพระราชทานพระบรมวโรกาส ให้ข้าราชการและประชาชนของพระองค์ ได้มีส่วนมีเสียงตามความเห็นดีเห็นชอบในการจรรโลงประเทศสยามให้วัฒนาการในภายภาคหน้ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ พระราชทานรัฐธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามตามความประสงค์เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พุทธศักราช 2475 และประกาศเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พุทธศักราช 2475 ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 49

2. แนวนโยบายแห่งรัฐในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช2492 ได้กำหนดอย่างไร อธิบาย
ตอบ     หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย  
                มาตรา 36 บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการศึกษาอบรม เมื่อการศึกษาอบรมนั้นไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาอบรมและไม่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรสถานศึกษา สถานศึกษาของรัฐและของเทศบาล ต้องให้ความเสมอภาคแก่บุคคลในการเข้ารับการศึกษาอบรมตามความสามารถของบุคคลนั้น ๆ
                หมวด 4 หน้าที่ของชนชาวไทย 
                มาตรา 53 บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษา ภายในเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ
                หมวด 5 แนวนโยบายแห่งรัฐ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา 
                มาตรา 62 การศึกษาอบรมพึงมีจุดประสงค์ที่จะให้ชนชาวไทยเป็นพลเมืองดี มีร่างกายแข็งแรงและอนามัยสมบูรณ์ มีความรู้ความสามารถที่จะประกอบอาชีพ และมีจิตใจเป็นนักประชาธิปไตย 
                มาตรา 63 รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรม การจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะสถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายในการควบคุมดูแลของรัฐ การศึกษาอบรมชั้นอุดมศึกษา รัฐพึงจัดการให้สถานศึกษาดาเนินกิจการของตนเองได้ภายในขอบเขตที่กฎหมายบัญญัติ
                มาตรา 64 การศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษาในสถานศึกษาของรัฐและของเทศบาล จะต้องจัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน รัฐพึงช่วยเหลือให้มีอุปกรณ์การศึกษาอบรมตามสมควร
                มาตรา 65 รัฐพึงสนับสนุนการค้นคว้าในทางศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ (ราชกิจจานุเบกษา, 2492, 25-27)

3. เปรียบเทียบแนวนโยบายแห่งรัฐประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช 2511 พุทธศักราช 2517 และ พุทธศักราช 2521 เหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
ตอบ     แนวนโยบายแห่งรัฐประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช 2511 พุทธศักราช 2517 และ พุทธศักราช 2521 เหมือนกันตรงที่การจัดอบรมชั้นประถมศึกษา ของรัฐและเทศบาล โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน

4. ประเด็นที่ 1 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490 ประเด็นที่ 2 รัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช25492-2517 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
ตอบ  ต่างกัน ดังนี้
                บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประเด็นที่ 1 เกี่ยวกับการศึกษาพอที่จะสรุปได้ว่า
                รัฐธรรมนูญฉบับแรกที่มีชื่อว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 ต่อมาได้เปลี่ยนคำว่าราชอาณาจักรสยามเป็นราชอาณาจักรไทยจนถึงปัจจุบัน และกล่าวถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาไม่มากหนัก ได้กำหนดสิทธิและเสรีภาพ การพูด การเขียน การศึกษาอบรม การประชุมโดยเปิดเผย การตั้งสมาคม การอาชีพ
                บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประเด็นที่ 2 เกี่ยวกับการศึกษาพอที่จะสรุปได้ดังนี้
                1. สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย ในการศึกษาอบรม สถานศึกษาของรัฐและเทศบาลให้ความเสมอภาคแก่บุคคลในการศึกษาอบรม ตามความสามารถของบุคคล
                2. หน้าที่ของชนชาวไทย บุคคลย่อมได้รับการศึกษาชั้นประถมศึกษาหรือการศึกษา
ขั้นมูลฐาน ตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด
                3. กำหนดแนวนโยบายแห่งรัฐ จัดการศึกษาเพื่อพลเมืองดี มีร่างกายแข็งแรง อานามัยสมบูรณ์ มีความรู้ประกอบอาชีพและมีจิตใจเป็นประชาธิปไตย
                4. ส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรมการจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐ การศึกษาอบรมชั้นอุดมศึกษา ดำเนินได้ตามขอบเขตที่กฎหมายกำหนด
                5. การจัดอบรมชั้นประถมศึกษา ของรัฐและเทศบาล โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน

5. ประเด็นที่ 3 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2521-2534 ประเด็นที่ 4 รัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช 2540-2550 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
ตอบ  ใกล้เคียงกัน ดังนี้
                บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประเด็นที่ 3 เกี่ยวกับการศึกษาพอที่จะสรุปได้ดังนี้
                1. บุคคลย่อมมีเสรีภาพและมีสิทธิเสมอกันในการศึกษาภาคบังคับและการศึกษาอบรมไม่เป็นปรปักษ์และไม่ขัดต่อกฎหมายการศึกษา
                2. เสรีภาพในวิชาการย่อมได้รับการคุ้มครองที่ไม่ขัดต่อหน้าที่พลเมือง
                3. รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรม ระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐและสถานศึกษาทั้งปวงอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐ
                4. การศึกษาอบรมชั้นอุดมศึกษา รัฐกำหนดให้สถานศึกษาดำเนินการตามกิจการของตนเองได้ภายในขอบเขตที่กฎหมายกำหนด
                5. การศึกษาภาคบังคับในสถานศึกษาของรัฐและท้องถิ่น จัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน
                6. รัฐพึงช่วยเหลือผู้ยากไร้ให้ได้รับทุนและปัจจัยต่าง ๆ ในการศึกษาอบรมและการฝึกอาชีพ
                7. รัฐสนับสนุนการวิจัยในศิลปะและวิทยาการต่าง ๆ และส่งเสริมการใช้วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีในการพัฒนาประเทศ
                8. รัฐพึงสนับสนุนและส่งเสริมเยาวชนของชาติ ให้เป็นผู้ที่มีความสมบูรณ์ ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา คุณธรรม และจริยธรรม เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และเพื่อความมั่นคงของรัฐ
                บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประเด็นที่ 4 เกี่ยวกับการศึกษาพอที่จะสรุปได้ดังนี้
                1. สิทธิและเสรีภาพในเชิงวิชาการ การเรียนการสอนการวิจัยได้รับการคุ้มครอง
                2. รัฐจัดการศึกษาให้กับบุคคลมีสิทธิเสมอกันในการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี และจะต้องจัดอย่างทั่วถึงอย่างมีคุณภาพ ไม่เก็บค่าใช้จ่าย และการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพและเอกชนจะต้องได้รับการคุ้มครอง
                3. รัฐต้องคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน ส่งเสริมความเสมอภาคทั้งหญิงและชาย พัฒนาความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว และความเข็มแข็งของชุมชน สังเคราะห์ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาส
                4. รัฐจะต้องจัดการศึกษาอบรมและสนับสนุนให้เอกชน จัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรมและจัดให้มีกฎหมายการศึกษาแห่งชาติ
                5. รัฐส่งเสริมสนับสนุนการกระจายอำนาจ เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นชุมชนองค์กรต่าง ๆ มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนามาตรฐานคุณภาพการศึกษาให้เท่าเทียมกัน
                6. ส่งเสริมและสนับสนุนความรู้รักสามัคคีและการเรียนรู้ ปลูกจิตสานึก และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติ ตลอดจนค่านิยมอันดีงามและภูมิปัญญาท้องถิ่น

6. เหตุใดรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับจะต้องระบุในประเด็นที่รัฐจะต้องจัดการศึกษาอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง อธิบาย
ตอบ     การปรับเปลี่ยนตามความต้องการของประเทศและตามเศรษฐกิจในยุคปัจจุบัน 

7. เหตุใดรัฐจึงต้องกำหนด “บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ” จงอธิบาย หากไม่ปฏิบัติจะเกิดอะไรขึ้น
ตอบ     เมื่อกำหนดรัฐธรรมนูญขึ้นมาจะต้องมีหน่วยงานของรัฐและเอกชนมาให้ความช่วยเหลือทางด้านการศึกษาให้ทั่วถึงและความเสมอภาคแก่ปวงประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน หากไม่ปฏิบัติจะเกิดความไม่เสมอภาคความไม่เท่าเทียมกันและขาดการช่วยเหลือทางการศึกษา

8. การจัดการศึกษาที่เปิดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาหากเราพิจารณารัฐธรรมนูญมีฉบับใดบ้างที่ให้องค์กรส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วม และถ้าเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมมากขึ้นท่านคิดว่าเป็นอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ  ฉบับที่ 5-10  (พ. 2540-2550)และถ้าเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมมากขึ้นคิดว่าโอกาสที่ประชาชนจะได้รับการศึกษาสูงและได้รับการช่วยเหลือในเรื่องต่าง ๆ อย่างทั่วถึง

9. เหตุใดการจัดการศึกษา รัฐต้องคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน ส่งเสริมความเสมอภาคทั้งหญิงและชาย พัฒนาความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว และความเข็มแข็งของชุมชน สังเคราะห์ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาส จงอธิบาย
ตอบ ความเสมอภาคและการช่วยเหลือที่เท่าเทียมกันและการปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตสานึกของความเป็นไทย มีระเบียบวินัย คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

10.ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีผลต่อการพัฒนาประเทศ อย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันนี้ส่งผลให้นักเรียนหรือประชาชนมีโอกาสเข้ารับการศึกษาได้มากขึ้นเเละเท่าเทียมกันในส่วนของการศึกษา มีโครงการต่างๆเช่นเรียนฟรี 15 ปีอย่างมีคุณภาพเหล่านี้เป็นต้นซึ่งนับว่าผู้ที่มีรายได้น้อยสามารถเข้ารับการศึกษาได้เท่าเทียมกับบุคคลอื่น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น