วันจันทร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2558

อนุทิน 5

แบบฝึกหัดบทที่ 3

เมื่อนักศึกษาได้ศึกษาบทเรียนนี้แล้ว จงตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง

1. นักศึกษาอธิบายคำนิยามต่อไปนี้ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.. 2542         
ตอบ        การศึกษา หมายความว่ากระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอดความรู้การฝึกการอบรมการสืบสานทางวัฒนธรรมการสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการการสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อมสังคมการเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิ
                การศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายความว่าการศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา
                การศึกษาตลอดชีวิต หมายความว่าการศึกษาที่สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตโดยเกิดจากการผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบการศึกษาตามอัธยาศัย
                มาตรฐานการศึกษา หมายความว่าข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะคุณภาพที่พึงประสงค์และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่งและเพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสำหรับส่งเสริมและกำกับดูแลการตรวจสอบการประเมินและการประกันคุณภาพทางการศึก
                การประกันคุณภาพภายใน หมายความว่าการประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาจากภายในโดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเองหรือหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษานั้น
                การประกันคุณภาพภายนอก หมายความว่าการประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาจากภายนอกโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาหรือบุคคลหรือหน่ายงานภายนอกที่สำนักงานดังกล่าวรองรับเพื่อเป็นการประกันคุณภาพและให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของสถานศึกษา
                ซผู้สอน หมายความว่า ครูและคณาจารย์ในสถานศึกษาระดับต่างๆ
                ฌครู หมายความว่าบุคลากรวิชาชีพซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน
                ญคณาจารย์ หมายความว่าบุคลากรซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการสอนและการวิจัยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาและระดับปริญญา
                ฐผู้บริหารสถานศึกษา หมายความว่าบุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารสถานศึกษาแต่ละแห่งทั้งของรัฐและเอกชน
                ผู้บริหารการศึกษา หมายความว่าบุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารการศึกษานอกสถานศึกษาตั้งแต่ระดับเขตพื้นที่การศึกษาขึ้นไป
                ณบุคลากรทางการศึกษา หมายความว่าผู้บริหารสถานศึกษาผู้บริหารสถานศึกษา รวมทั้งผู้สนับสนุนการศึกษาซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ให้บริการหรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอนการนิเทศและการบริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาต่างๆ
               
2.ความมุ่งหมายและหลักการจัดการศึกษาได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษานี้อย่างไรบ้าง ให้อธิบาย
ตอบ       ความมุ่งหมายของการจัดการศึกษา (มาตรา 6) การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับ ผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
                ส่วนหลักการจัดการศึกษา มี 3 ประการคือ(มาตรา 8)
 (1) เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน
 (2) ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
 (3) การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง

3. หลักการจัดการศึกษาประกอบด้วยอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ    หลักการจัดการศึกษา มี 3 ประการคือ (มาตรา 8)
(1) เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน
(2) ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
(3) การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง

4. การจัดระบบ โครงสร้างและกระบวนการจัดการศึกษา ตามที่กฎหมายกำหนดมีอะไรบ้าง
ตอบ     การจัดระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษาให้ยึดหลักดั้งนี้ (มาตรา 9)
                (1) มีเอกภาพด้านนโยบาย และมีความหลากหลายในการปฏิบัติ
                (2) มีการกระจายอำนาจ ไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษาและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                (3) มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษา และจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับและประเภทการศึกษา
                (4) มีหลักการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา และการพัฒนาครูคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
                (5) ระดมทรัพยากร จากแหล่งต่าง ๆ มาใช้ในการจัดการศึกษา
                (6) การมีส่วนร่วม ของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น

5. สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา ที่กำหนดไว้ในกฎหมายมีอะไรบ้าง
ตอบ     หมวด 2 สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา
          มีสาระสำคัญของหมวดนี้มีดังนี้ (มาตรา 10-14) (คาหมาน คนไค, 2543, 31)
          1. การจัดการศึกษา ต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปีอย่างทั่วถึง (Education for all) มีคุณภาพ (Educational Quaality) และไม่เก็บค่าใช้จ่าย(FreeEducation) (สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, 2542, 17)
           2. บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์สังคม ผู้ด้อยโอกาสและผู้มีควาสามารถพิเศษ มีสิทธิได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ
           3. พ่อ แม่ ผู้ปกครอง บุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน สถานประกอบการสถาบันศาสนาและสถาบันอื่น ๆ มีสิทธิจัดการศึกษาขั้น พื้นฐานให้แก่บุตรหลานของตนหรือบุคคลทั่ว ไป ผู้จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานดังกล่าวมีสิทธิไดรับการสนับสนุนและเงินอุดหนุนจากรัฐ รวมทั้งได้รับการลดหย่อนภาษีหรือยกเว้นภาษีตามที่กฎหมายกำหนด

6. ระบบการศึกษามีกี่รูปแบบแต่ละรูปแบบมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ     1. การจัดการศึกษามี 3 รูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย สถานศึกษาแต่ละแห่งสามารถจัดการศึกษาได้ 3 รูปแบบหรือรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งซึ่งทั้ง 3 รูปแบบนี้สามารถเทียบโอนกันได้
          2. การจัดการศึกษาแบ่งเป็น 2 ระดับ คือ การศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาระดับอุดมศึกษาสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จะเรียกชื่อเป็นประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หรืออย่างอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง การศึกษาระดับอุดมศึกษา มี 2 ระดับคือ ระดับปริญญา และต่ำกว่าปริญญา
           3. การศึกษาภาคบังคับ มีกำหนด 9 ปี เด็กอายุ 6 ขวบต้องเข้าเรียนในสถานศึกษาขั้น พื้นฐานจนถึงอายุ 15ขวบ เว้นแต่สอบได้ชั้นปีที่ 9 ของการศึกษาภาคบังคับ หลักเกณฑ์การนับอายุให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
           4. การจัดการศึกษาปฐมวัยและการศึกษาขั้น พื้นฐาน ให้จัดในสถานศึกษา 3 ประเภทคือ
(1) สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย (2) โรงเรียน (3) ศูนย์การเรียน
           5. การอาชีวศึกษาให้จัดในสถานศึกษาของรัฐและเอกชนรวมทั้งสถานประกอบการและองค์กรหรือหน่วยงานอื่น ตามกฎหมายว่าด้วยอาชีวศึกษา
           6. กระทรวง ทบวง กรม รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐ อาจจัดการศึกษาเฉพาะทางตามความต้องการและความชำนาญของหน่วยงาน โดยคำนึงถึงนโยบายและมาตรฐานการศึกษาของชาติทั้งนี้ตามทหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

7. การจัดการศึกษาในระบบมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ     1. การจัดการศึกษามี 3 รูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย สถานศึกษาแต่ละแห่งสามารถจัดการศึกษาได้รูปแบบหรือรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งซึ่งทั้ง 3 รูปแบบนี้สามารถเทียบโอนกันได้
          2. การจัดการศึกษาแบ่งเป็น 2 ระดับคือการศึกษาขั้น พื้นฐาน การศึกษาระดับอุดมศึกษาสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐานจะเรียกชื่อเป็นประถมศึกษามัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลายหรืออย่างอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง การศึกษาระดับอุดมศึกษา มีระดับคือ ระดับปริญญาและต่ำกว่าปริญญา
          3. การศึกษาภาคบังคับ มีกำหนด 9 ปี เด็กอายุ 6 ขวบต้องเข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจนถึงอายุ 15ขวบ เว้นแต่สอบได้ชั้นปีที่ 9 ของการศึกษาภาคบังคับ หลักเกณฑ์การนับอายุให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
          4. การจัดการศึกษาปฐมวัยและการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้จัดในสถานศึกษา 3 ประเภทคือ
(1) สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย (2) โรงเรียน (3) ศูนย์การเรียน
          5. การอาชีวศึกษาให้จัดในสถานศึกษาของรัฐและเอกชนรวมทั้งสถานประกอบการและองค์กรหรือหน่วยงานอื่น ตามกฎหมายว่า ด้วยอาชีวศึกษา
          6. กระทรวง ทบวง กรม รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐ อาจจัดการศึกษาเฉพาะทางตามความต้องการและความชำนาญของหน่วยงาน โดยคำนึงถึงนโยบายและมาตรฐานการศึกษาของชาติ ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

8. สถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคลเป็นอย่างไร
ตอบ   สามารถดำเนินกิจการได้โดยอิสระสามารถพัฒนาระบบบริหารและการจัดการที่เป็นของตนมีความคล่องตัวมีเสรีภาพทางวิชาการและอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสภาสถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งสถานศึกษานั้นๆยกเว้นสถานศึกษาเฉพาะทางซึ่งจะต้องจัดการศึกษาให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการ

9.  แนวทางการจัดการศึกษามีหลักยึดอะไรบ้าง
ตอบ       1. ยึดหลักว่าทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ให้ถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุดและต้องให้แต่ละคนสามารถพัฒนาตามความถนัดความสนใจและเต็มศักยภาพของเขา
                2. เนื้อหาสาระของการศึกษาทุกระบบทุกรูปแบบต้องเน้นความรู้คู่คุณธรรมและกระบวนการเรียนรู้ โดยบูรณการ(ผสมผสานตามความเหมาะสมของระดับการศึกษา
                3. เนื้อหาสาระของวิชาความรู้ที่ต้องไปกำหนดหลักสูตรและจัดการเรียนรู้ประกอบด้วยเรื่องต่างๆต่อไปนี้

10.  ท่านเห็นด้วยหรือไม่ที่กำหนดให้ครูผู้บริหารสถานศึกษาผู้บริหารการศึกษาทั้งรัฐและเอกชนจะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ
ตอบ   เห็นด้วย

11. มีวิธีการระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาการศึกษาในท้องถิ่นของท่านได้อย่างบ้าง
ตอบ     การพยายามใช้ทรัพยากรที่มีอยู่  ให้มีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลสูงสุด กระบวนการ บริหารทรัพยากรการศึกษา การระดมทัพยากร ทั้งชุมชน  หน่วยงานของรัฐ  และภาคเอกชน  ทางด้านเงินทุน  วัสดุอุปกรณ์  และบุคลากร โดยใช้ทรัพยากรร่วมกันหรือแบ่งปันกัน อาจจัดในรูปแบบของกิจกรรมซึ่งมีความสอดคล้องกันกับหน่วยงานอื่นในเรื่องของวัตถุประสงค์และเกิดประโยชน์ร่วมกัน

12.การพัฒนาสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มีวิธีการพัฒนาได้อย่างไร 

ตอบ ให้ผู้เรียนมีสิทธิได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในโอกาสแรกที่ทำได้ เพื่อให้มีความรู้และทักษะเพียงพอ ที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

อนุทิน 4

แบบฝึกหัดบทที่ 2

1. ใครเป็นผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก และมีเหตุผลอย่างไร และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เป็นอย่างไร อธิบาย
ตอบ ผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรกคือสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7  เหตุผลผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามถือเป็นฉบับแรกคณะราษฎร์เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยได้กล่าวไว้ว่า “บัดนี้การศึกษาสูงขึ้นแล้ว มีข้าราชการประกอบด้วยวุฒิปรีชาในรัฐาภิปาลนโยบายสามารถนาประเทศของตน ในอันที่จะก้าวหน้าไปสู่สากลอารยธรรมแห่งโลกโดยสวัสดี สมควรแล้วที่จะพระราชทานพระบรมวโรกาส ให้ข้าราชการและประชาชนของพระองค์ ได้มีส่วนมีเสียงตามความเห็นดีเห็นชอบในการจรรโลงประเทศสยามให้วัฒนาการในภายภาคหน้ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ พระราชทานรัฐธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามตามความประสงค์เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พุทธศักราช 2475 และประกาศเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พุทธศักราช 2475 ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 49

2. แนวนโยบายแห่งรัฐในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช2492 ได้กำหนดอย่างไร อธิบาย
ตอบ     หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย  
                มาตรา 36 บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการศึกษาอบรม เมื่อการศึกษาอบรมนั้นไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาอบรมและไม่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรสถานศึกษา สถานศึกษาของรัฐและของเทศบาล ต้องให้ความเสมอภาคแก่บุคคลในการเข้ารับการศึกษาอบรมตามความสามารถของบุคคลนั้น ๆ
                หมวด 4 หน้าที่ของชนชาวไทย 
                มาตรา 53 บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษา ภายในเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ
                หมวด 5 แนวนโยบายแห่งรัฐ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา 
                มาตรา 62 การศึกษาอบรมพึงมีจุดประสงค์ที่จะให้ชนชาวไทยเป็นพลเมืองดี มีร่างกายแข็งแรงและอนามัยสมบูรณ์ มีความรู้ความสามารถที่จะประกอบอาชีพ และมีจิตใจเป็นนักประชาธิปไตย 
                มาตรา 63 รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรม การจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะสถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายในการควบคุมดูแลของรัฐ การศึกษาอบรมชั้นอุดมศึกษา รัฐพึงจัดการให้สถานศึกษาดาเนินกิจการของตนเองได้ภายในขอบเขตที่กฎหมายบัญญัติ
                มาตรา 64 การศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษาในสถานศึกษาของรัฐและของเทศบาล จะต้องจัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน รัฐพึงช่วยเหลือให้มีอุปกรณ์การศึกษาอบรมตามสมควร
                มาตรา 65 รัฐพึงสนับสนุนการค้นคว้าในทางศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ (ราชกิจจานุเบกษา, 2492, 25-27)

3. เปรียบเทียบแนวนโยบายแห่งรัฐประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช 2511 พุทธศักราช 2517 และ พุทธศักราช 2521 เหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
ตอบ     แนวนโยบายแห่งรัฐประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช 2511 พุทธศักราช 2517 และ พุทธศักราช 2521 เหมือนกันตรงที่การจัดอบรมชั้นประถมศึกษา ของรัฐและเทศบาล โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน

4. ประเด็นที่ 1 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490 ประเด็นที่ 2 รัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช25492-2517 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
ตอบ  ต่างกัน ดังนี้
                บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประเด็นที่ 1 เกี่ยวกับการศึกษาพอที่จะสรุปได้ว่า
                รัฐธรรมนูญฉบับแรกที่มีชื่อว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 ต่อมาได้เปลี่ยนคำว่าราชอาณาจักรสยามเป็นราชอาณาจักรไทยจนถึงปัจจุบัน และกล่าวถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาไม่มากหนัก ได้กำหนดสิทธิและเสรีภาพ การพูด การเขียน การศึกษาอบรม การประชุมโดยเปิดเผย การตั้งสมาคม การอาชีพ
                บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประเด็นที่ 2 เกี่ยวกับการศึกษาพอที่จะสรุปได้ดังนี้
                1. สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย ในการศึกษาอบรม สถานศึกษาของรัฐและเทศบาลให้ความเสมอภาคแก่บุคคลในการศึกษาอบรม ตามความสามารถของบุคคล
                2. หน้าที่ของชนชาวไทย บุคคลย่อมได้รับการศึกษาชั้นประถมศึกษาหรือการศึกษา
ขั้นมูลฐาน ตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด
                3. กำหนดแนวนโยบายแห่งรัฐ จัดการศึกษาเพื่อพลเมืองดี มีร่างกายแข็งแรง อานามัยสมบูรณ์ มีความรู้ประกอบอาชีพและมีจิตใจเป็นประชาธิปไตย
                4. ส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรมการจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐ การศึกษาอบรมชั้นอุดมศึกษา ดำเนินได้ตามขอบเขตที่กฎหมายกำหนด
                5. การจัดอบรมชั้นประถมศึกษา ของรัฐและเทศบาล โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน

5. ประเด็นที่ 3 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2521-2534 ประเด็นที่ 4 รัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช 2540-2550 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
ตอบ  ใกล้เคียงกัน ดังนี้
                บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประเด็นที่ 3 เกี่ยวกับการศึกษาพอที่จะสรุปได้ดังนี้
                1. บุคคลย่อมมีเสรีภาพและมีสิทธิเสมอกันในการศึกษาภาคบังคับและการศึกษาอบรมไม่เป็นปรปักษ์และไม่ขัดต่อกฎหมายการศึกษา
                2. เสรีภาพในวิชาการย่อมได้รับการคุ้มครองที่ไม่ขัดต่อหน้าที่พลเมือง
                3. รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรม ระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐและสถานศึกษาทั้งปวงอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐ
                4. การศึกษาอบรมชั้นอุดมศึกษา รัฐกำหนดให้สถานศึกษาดำเนินการตามกิจการของตนเองได้ภายในขอบเขตที่กฎหมายกำหนด
                5. การศึกษาภาคบังคับในสถานศึกษาของรัฐและท้องถิ่น จัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน
                6. รัฐพึงช่วยเหลือผู้ยากไร้ให้ได้รับทุนและปัจจัยต่าง ๆ ในการศึกษาอบรมและการฝึกอาชีพ
                7. รัฐสนับสนุนการวิจัยในศิลปะและวิทยาการต่าง ๆ และส่งเสริมการใช้วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีในการพัฒนาประเทศ
                8. รัฐพึงสนับสนุนและส่งเสริมเยาวชนของชาติ ให้เป็นผู้ที่มีความสมบูรณ์ ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา คุณธรรม และจริยธรรม เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และเพื่อความมั่นคงของรัฐ
                บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประเด็นที่ 4 เกี่ยวกับการศึกษาพอที่จะสรุปได้ดังนี้
                1. สิทธิและเสรีภาพในเชิงวิชาการ การเรียนการสอนการวิจัยได้รับการคุ้มครอง
                2. รัฐจัดการศึกษาให้กับบุคคลมีสิทธิเสมอกันในการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี และจะต้องจัดอย่างทั่วถึงอย่างมีคุณภาพ ไม่เก็บค่าใช้จ่าย และการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพและเอกชนจะต้องได้รับการคุ้มครอง
                3. รัฐต้องคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน ส่งเสริมความเสมอภาคทั้งหญิงและชาย พัฒนาความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว และความเข็มแข็งของชุมชน สังเคราะห์ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาส
                4. รัฐจะต้องจัดการศึกษาอบรมและสนับสนุนให้เอกชน จัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรมและจัดให้มีกฎหมายการศึกษาแห่งชาติ
                5. รัฐส่งเสริมสนับสนุนการกระจายอำนาจ เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นชุมชนองค์กรต่าง ๆ มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนามาตรฐานคุณภาพการศึกษาให้เท่าเทียมกัน
                6. ส่งเสริมและสนับสนุนความรู้รักสามัคคีและการเรียนรู้ ปลูกจิตสานึก และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติ ตลอดจนค่านิยมอันดีงามและภูมิปัญญาท้องถิ่น

6. เหตุใดรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับจะต้องระบุในประเด็นที่รัฐจะต้องจัดการศึกษาอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง อธิบาย
ตอบ     การปรับเปลี่ยนตามความต้องการของประเทศและตามเศรษฐกิจในยุคปัจจุบัน 

7. เหตุใดรัฐจึงต้องกำหนด “บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ” จงอธิบาย หากไม่ปฏิบัติจะเกิดอะไรขึ้น
ตอบ     เมื่อกำหนดรัฐธรรมนูญขึ้นมาจะต้องมีหน่วยงานของรัฐและเอกชนมาให้ความช่วยเหลือทางด้านการศึกษาให้ทั่วถึงและความเสมอภาคแก่ปวงประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน หากไม่ปฏิบัติจะเกิดความไม่เสมอภาคความไม่เท่าเทียมกันและขาดการช่วยเหลือทางการศึกษา

8. การจัดการศึกษาที่เปิดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาหากเราพิจารณารัฐธรรมนูญมีฉบับใดบ้างที่ให้องค์กรส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วม และถ้าเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมมากขึ้นท่านคิดว่าเป็นอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ  ฉบับที่ 5-10  (พ. 2540-2550)และถ้าเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมมากขึ้นคิดว่าโอกาสที่ประชาชนจะได้รับการศึกษาสูงและได้รับการช่วยเหลือในเรื่องต่าง ๆ อย่างทั่วถึง

9. เหตุใดการจัดการศึกษา รัฐต้องคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน ส่งเสริมความเสมอภาคทั้งหญิงและชาย พัฒนาความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว และความเข็มแข็งของชุมชน สังเคราะห์ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาส จงอธิบาย
ตอบ ความเสมอภาคและการช่วยเหลือที่เท่าเทียมกันและการปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตสานึกของความเป็นไทย มีระเบียบวินัย คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

10.ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีผลต่อการพัฒนาประเทศ อย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันนี้ส่งผลให้นักเรียนหรือประชาชนมีโอกาสเข้ารับการศึกษาได้มากขึ้นเเละเท่าเทียมกันในส่วนของการศึกษา มีโครงการต่างๆเช่นเรียนฟรี 15 ปีอย่างมีคุณภาพเหล่านี้เป็นต้นซึ่งนับว่าผู้ที่มีรายได้น้อยสามารถเข้ารับการศึกษาได้เท่าเทียมกับบุคคลอื่น


อนุทิน 3

แบบฝึกหัดที่  1
คำสั่ง หลังจากนักศึกษาได้ศึกษาบทเรียนนี้แล้ว จงตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง

1.ท่านคิดว่าทำไมมนุษย์เราต้องมีกฎหมายหากไม่มีจะเป็นอย่างไร
ตอบ   ในสังคมของมนุษย์นั้นมีสมาชิกจำนวนมากที่มีความแตกต่างกัน ทั้งด้านความคิดเห็นและพฤติกรรมต่างๆ จึงจำเป็นต้องมีกฎระเบียบหรือกติการ่วมกัน เพื่อเป็นบรรทัดฐานสำคัญในการควบคุมความประพฤติของมนุษย์ และช่วยรักษาความสงบเรียบร้อยให้กับสังคม ไม่ให้เกิดความวุ่นวาย กฎหมายมีความสำคัญต่อสังคมในด้านต่างๆ เช่น ด้านความเป็นระเบียบและความสงบเรียบร้อยให้กับสังคมและประเทศชาติ การดำเนินชีวิตของมนุษย์ กฎหมายก่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน เป็นต้น  

2. ท่านคิดว่าสังคมปัจจุบันจะอยู่ได้หรือไม่หากไม่มีกฎหมายและจะเป็นอย่างไร
ตอบ  ไม่ได้  สังคมจะปั่นป่วนวุ่นวาย เพราะกฎหมายก็เกิดจากความขัดแย้งต่างๆ ที่คนเราเคยมี จึงแก้ปัญหาโดยให้มีกฎกติกาเพื่อทำให้ทุกคนยึดถือ กติกาเดียวกันสามารถดำเนินชีวิตโดยปกติ และมีความสุข

3. ท่านมีความรู้ความเข้าเกี่ยวกับกฎหมายในประเด็นต่อไปนี้
ตอบ   ก. ความหมาย

                คำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตยจากคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดของรัฐ เป็นข้อบังคับใช้กับคนทุกคนที่อยู่ในรัฐหรือประเทศนั้น ๆ จะต้องปฏิบัติตามและมีสภาพบังคับที่มีการกำหนดบทลงโทษ
              ข. ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย
                          ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย มีดังนี้
                1. เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย์ องค์กรหรือคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุด
                2. มีลักษณะเป็นคำสั่ง ข้อบังคับ อันมิใช่คำวิงวอน ประกาศ หรือแถลงการณ์
                3. ใช้บังคับกับคนทุกคนในรัฐอย่างเสมอภาค เพื่อให้ทุกคนเกรงกลัวและถือปฏิบัติ สังคมจะได้สงบสุข
                4. มีสภาพบังคับ ซึ่งบุคคลจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายโดยเฉพาะการกระทำและการงดเว้นการกระทำตามกฎหมายนั้น ๆ กำหนด
              ค. ที่มาของกฎหมาย
                  1. บทบัญญัติแห่งกฎหมาย เป็นกฎหมายลักษณ์อักษร เช่นพระราชบัญญัติ พระราชกำหนด
                  2. จารีตประเพณี เป็นแบบอย่างที่ประชาชนนิยมปฏิบัติตามกันมานาน หากนาไปบัญญัติเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรแล้วย่อมมีสภาพไปเป็นกฎหมา
                  3. ศาสนา เป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติที่ดีของทุก ๆ ศาสนาสอนให้เป็นคนดี เช่น ห้ามลักทรัพย์ ห้ามผิดลูกเมีย ห้ามทาร้ายผู้อื่น กฎหมายจึงได้บัญญัติตามหลักศาสนาและมีการลงโทษ
                  4. คาพิพากษาของศาลหรือหลักบรรทัดฐานของคาพิพากษา ซึ่งคาพิพากษาของศาลชั้นสูงเป็นแนวทางที่ศาลชั้นต้นต้องนาไปถือปฏิบัติในการตัดสินคดี
                  5. ความเห็นของนักนิติศาสตร์ เป็นการแสดงความคิดเห็นของว่าสมควรที่จะออกกฎหมายอย่างนั้นสมควรหรือไม่
              ง. ประเภทของกฎหมาย
                  กฎหมายภายใน
       1. กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
           1.1 กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร แบ่งโดยยึดเนื้อหาของกฎหมายที่ปรากฏเป็นหลัก
           1.2 กฎหมายที่เป็นไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นกฎหมายที่มิได้มีการบัญญัติโดยผ่านกระบวนการนิติบัญญัติ เช่น จารีตประเพณี
      2. กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา และกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
      3. กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสารบัญญัติ
      4. กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
          4.1 กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน
                        4.2 กฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายที่มีความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน
           กฎหมายภายนอก
     1. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
     2. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
     3. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา



4.  ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร ว่า ทำไมทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมาย จงอธิบาย
ตอบ  กฎหมายเป็นเครื่องควบคุมประพฤติการณ์ในสังคม พัฒนาขึ้นมาจากศีลธรรม ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี ศาสนา และกฎเกณฑ์ข้อบังคับ ตามลำดับ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อธำรงความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของสมาชิกใน สังคม กับทั้งเพื่อให้การอยู่ร่วมกันในสังคมนั้นเป็นไปโดยราบรื่น สนองความต้องการของภาคส่วนต่าง ๆ อย่างเหมาะสม ดังนั้น “ที่ใดมีมนุษย์ ที่นั้นจึงมีกฎหมาย” ทุกประเทศจึงต้องมีกฎหมาย เพื่อเป็นกฎ หรือข้อบังคับให้ทุกคนปฏิบัติตาม จึงจะอยู่ด้วยกันอย่างสงบสุข

 5.  สภาพบังคับในทางกฎหมายท่านมีความเข้าใจอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ    กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ กฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ที่กำหนดความประพฤติของมนุษย์ เพื่อให้มนุษย์จำต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ จึงจำเป็นต้องมีสภาพบังคับในกรณีที่มีการฝ่าฝืนกฎเกณฑ์กฎหมายใดไม่มีสภาพบังคับ ไม่เรียกว่าเป็นกฎหมาย

6.  สภาพบังคับกฎหมายในอาญาและทางแพ่ง มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ   แตกต่างกันด้วยสภาพบังคับ ในกฎหมายแพ่งนั้น มีสภาพบังคับประเภทหนึ่ง คือ ถ้าหากมีการล่วงละเมิดกฎหมายแพ่ง บุคคลผู้ร่วงละเมิดไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาล ก็อาจะถูกยึดทรัพย์ขายทอดตลาดเอาเงินที่ขายได้มาชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาล มิฉะนั้นอาจถูกกักขังจนกว่าจะทำตามคำพิพากษาของศาลได้ ส่วนในกฎหมายอาญานั้นมีสภาพบังคับประเภทหนึ่ง คือ โทษทางอาญาซึ่งกฎหมายได้บัญญัติไว้สำหรับความผิด

7.  ระบบกฎหมายเป็นอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ   ระบบกฎหมายมี  2  ระบบ
            1.   ระบบซีวิลลอร์   หรือระบบลายลักษณ์อักษร ถือกำเนิดขึ้นในทวีปยุโรปราวคริสต์ศตวรรษที่ 12 เป็นระบบเอามาจาก “Jus Civile” ใช้แยกความหมาย “Jus Gentium” ของโรมัน ซึ่งมีลักษณะพิเศษกล่าวคือ เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่มีความสำคัญกว่าอย่างอื่น คาพิพากษาของศาลไม่ใช่ที่มาของกฎหมาย แต่เป็นบรรทัดฐานแบบอย่างของการตีความกฎหมายเท่านั้น เริ่มต้นจากตัวบทกฎหมายเป็นสำคัญ จะถือเอาคาพิพากษาศาลหรือความคิดเห็นของ นักกฎหมายเป็นหลักไม่ได้ ยังถือว่า กฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชนเป็นคนละส่วนกัน และการวินิจฉัยคดีผู้พิพากษาเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด กลุ่มประเทศที่ใช้กฎหมายนี้
            2. ระบบคอมมอนลอว์ (Common Law System) เกิดและวิวัฒนาการขึ้นในประเทศอังกฤษมีรากเหง้ามาจากศักดินา ซึ่งจะต้องกล่าวถึงคาว่า “เอคควิตี้ (equity) เป็นกระบวนการเข้าไปเสริมแต่งให้คอมมอนลอว์ เป็นการพัฒนามาจากกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร นาเอาจารีตประเพณีและคาพิพากษา ซึ่งเป็นบรรทัดฐานของศาลสมัยเก่ามาใช้ จนกระทั่งเป็นระบบกฎหมายที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง การวินิจฉัยต้องอาศัยคณะลูกขุนเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด ประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายนี้

 8.  ประเภทของกฎหมายมีหลักการแบ่งอย่างไรบ้าง มีกี่ประเภท แต่ละประเภทประกอบด้วยอะไรบ้าง ยกตัวอย่างอธิบาย
ตอบ   แบ่งโดยแหล่งกำเนิด แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
                1. กฎหมายภายใน
                -  แบ่งโดยถือเนื้อหาเป็นหลัก เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรและกฎหมายที่ไม่ได้เป็นลายลักษณ์อักษร
                -   แบ่งโดยถือสภาพบังคับกฎหมายเป็นหลัก เป็นกฎหมายอาญา และกฎหมายแพ่ง
                -   แบ่งโดยถือลักษณะเป็นหลัก แบ่งได้เป็น กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสารบัญญัติ
                -   แบ่งโดยถือฐานะและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนเป็นเกณฑ์ แบ่งได้เป็น กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
                2. กฎหมายภายนอก
                -  กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
                -  กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล

9. ท่านเข้าใจถึงคำว่าศักดิ์ของกฎหมายคืออะไร มีการแบ่งอย่างไร
ตอบ   เป็นการจัดลาดับแห่งค่าบังคับของกฎหมายหรืออาจกล่าวได้ว่าอาศัยอำนาจขององค์กรที่ใช้อำนาจจากองค์กรที่แตกต่างกัน” จากประเด็นดังกล่าวพอที่จะกล่าวต่อไปได้อีกว่า ในการจัดลาดับมีการจัดอย่างไร ซึ่งจะต้องอาศัยหลักว่า กฎหมายหรือบทบัญญัติใดของกฎหมายที่อยู่ในลาดับที่ต่ำกว่า จะขัดหรือแย้งกับกฎหมายในลาดับที่สูงกว่าไม่ได้และเราจะพิจารณาอย่างไร โดยพิจารณาจากองค์กรที่มีอำนาจในการออกกฎหมาย โดยใช้เหตุผลที่ว่า (1) การออกกฎหมายโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ควรจะเป็นกฎหมายเฉพาะที่สำคัญ เป็นการกำหนดหลักการและนโยบายเท่านั้น เช่น พระราชบัญญัติที่ออกโดยรัฐสภาซึ่งเป็นตัวแทนของปวงชน (2) การให้รัฐสภา เป็นการทุ่นเวลา และทันต่อความต้องการและความจาเป็นของสังคม (3) ฝ่ายบริหารหรือองค์กรอื่นจะออกกฎหมายลูกจะต้องอยู่ในกรอบของหลักการและนโยบายในกฎหมายหลักฉบับนั้น

10.  เหตุการณ์ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555 มีเหตุการณ์ชุมนุมของประชาชน ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า และประชาชนได้ประกาศว่าจะมีการประชุมอย่างสงบ แต่ปรากฏว่า รัฐบาลประกาศเป็นเขตพื้นที่ห้ามชุมนุม และขัดขว้างไม่ให้ประชาชนชุมนุมอย่างสงบ ลงมือทำร้ายร่างกายประชาชน ในฐานะท่านเรียนวิชานี้ท่านจะอธิบายบอกเหตุผลว่า รัฐบาลกระทำผิดหรือถูก
ตอบ   การกระทำของรัฐบาลเป็นการกระทำที่ไม่สมควร เพราะประชาชนได้ประกาศไว้แล้วว่าจะมีการประชุมอย่างสงบ ถึงแม้ว่าจะเป็นเขตพื้นที่ห้ามชุมก็ตาม แต่ก็ไม่ควรทำแบบนั้น และเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน  เพราะประชาชนออกมาชุมนุมเรียกร้องตามสิทธิที่ตนเองพึ่งมี  และการออกมาชุมนุมในครั้งนี้ถือเป็นการชุมนุมอย่างสงบ  ปราศจากอาวุธ  แต่รัฐบาลกลับขัดขวางการชุมนุม และลงมือทำร้ายประชาชน  จนทำให้ประชาชนได้รับบาดเจ็บ

11. ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ คาว่า กฎหมายการศึกษาอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ   กฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาในปัจจุบัน ได้แก่ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ออกมาสอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่กำหนดให้รัฐต้องจัดการศึกษาอบรมและสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรม จัดให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ ปรับปรุงการศึกษาให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม สร้างเสริมความรู้และปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

12. ในฐานะที่นักศึกษาจะต้องเรียนวิชานี้ ถ้าเราไม่ศึกษากฎหมายการศึกษาท่านคิดว่า เมื่อท่านไป
ประกอบอาชีพครู จะมีผลกระทบต่อท่านอย่างไรบ้าง
ตอบ    ถ้าไม่กฎหมายการศึกษา เเล้วเมื่อไปประกอบอาชีพก็จะมีผลกระทบในหลายๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นในด้านของการจัดการศึกษา สิทธิเเละหน้าที่ทางการศึกษา เเละระบบการศึกษา เป็นต้น เมื่อไม่สามารถทราบสิ่งเหล่านี้ก็ไม่สามารถ พัฒนาให้คนไทยได้มีความรู้ได้ เเละไม่สามารถพัฒนาได้สมบูรณ์ทั้งด้านร่างกาย เเละจิตใจก็ตาม